สาระน่ารู้

การติดตั้งโซล่าร์เซลล์แบบ EPC หรือชื่อเต็มๆเรียกว่า Engineering Procurement and Construction คือการให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบเบ็ดเสร็จ (Turn-Key) ทั้งด้านการออกแบบทางวิศวกรรม การติดตั้งโครงสร้างระบบโซลาร์เซลล์ การขออนุญาตโครงการ ในรูปแบบของ on grid , Hybrid หรือ Off grid ตามแต่ที่ตกลงกัน หลังจากที่บริษัทได้ทำการติดตั้งจนระบบโซล่าเซลล์สามารถใช้งานได้แล้ว ยังมีการดำเนินการตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์หลังการติดตั้งอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบโซล่าเซลล์ที่ได้ทำการติดตั้งไปนั้น จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตรงตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดย NEO Clean Energy ให้บริการครอบคลุมทั้งกระบวนการ ทำให้สามารถติดต่อครั้งเดียวใช้ได้ตั้งแต่จนจบงาน แบบ One Stop Service

โซล่าร์รูฟท็อบ (Solar rooftop) เหมาะสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทใด?
ลักษณะการใช้ไฟฟ้า (Load profiles) ของผู้ใช้ไฟฟ้ามีความแตกต่างกัน ผู้ใช้งานที่มีการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงเวลาที่มีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด หรือ ช่วงเวลากลางวัน จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์รูฟของตนเอง ที่ได้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งจะได้ราคาค่าไฟฟ้าคงที่ในส่วนที่ PV ผลิตได้ และสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 (กิจการขนาดกลาง) ขึ้นไป ที่ต้องเสียค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (demand charge) นั้น ระบบโซล่าร์รูฟจะช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) ของผู้ใช้ไฟฟ้า ทำให้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้

โซล่าร์เซลล์ลอยน้ำคืออะไร?

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ คือ ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผิวน้ำ โดยพัฒนามาจากโซลาร์เซลล์แบบธรรมดาด้วยแนวคิดที่ต้องการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ผิวน้ำที่มักจะถูกปล่อยทิ้งไว้ เช่น คลอง เขื่อน ทะเล ซึ่งนับเป็นพื้นที่กว่า 30% ของประเทศไทย โซลาร์เซลล์ลอยน้ำจึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ และมีข้อดีดังต่อไปนี้

1. ใช้พื้นที่ผิวน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมประหยัดพื้นที่ผิวดิน
การใช้โซลาร์เซลล์ลอยน้ำช่วยให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรประหยัดพื้นที่ผิวดิน และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ผิวน้ำที่มักจะถูกปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการพัฒนาออกแบบตัวทุ่นลอยน้ำที่ช่วยให้ประหยัดพื้นที่และสามารถติดตั้งแผงโซลาร์ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า
การใช้แผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น 5-20% เมื่อเทียบกับการใช้แผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป เนื่องจากความเย็นของน้ำใต้แผ่นจะช่วยระบายความร้อนของระบบที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตไฟฟ้า

3. เพิ่มแหล่งผลิตพลังงานสะอาดให้กับประเทศไทย
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ โซลาร์เซลล์ลอยน้ำจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการผลิตพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดผลกระทบจากการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

โซล่าร์ฟาร์ม (Solar Farm) คืออะไร ?

โซล่าฟาร์ม เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการหาพลังงานทดแทนเพื่อช่วยในการลดค่าใข้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัน ในปัจจุบันก็เริ่มมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ตามบ้านเรือนทั่วไปด้วยการใช้แผงโซล่าเซลล์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีการใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าในปริมาณที่สูง

ดังนั้นโซล่าฟาร์มคือการจัดเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้า และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยแผงโซล่าเซลล์ ติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นจำนวนมากๆ ภายในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการติดตั้งในหลากหลายพื้นที่ ทั้งในแบบบนพื้น และการติดตั้งบนผิวน้ำ

รูปแบบการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
1. การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System)
เป็นวิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบมีตำแหน่งที่ชัดเจน ก่อนที่จะทำการติดตั้งจำเป็นจะต้องตรวจสอบแสงอาทิตย์ เพื่อหาข้อมูลที่จุดติตตั้ง องศาในการติดตั้ง เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์จะได้รับแสงอาทิตย์ ความเข้มของแสง เพื่อให้โซล่าเซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบนี้คือ มีต้นทุนในการติดตั้งและค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า แต่ก็จะรับแสงและผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดในบางช่วงเวลาเท่านั้น

2. การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)
เป็นวิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถหมุนแผงตามดวงอาทิตย์ได้ โดยอาศัยโปรแกรมในการควบคุมการหมุน เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์และความเข้มของแสงได้สูงที่สุด ซึ่งการติดตั้งชนิดนี้จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่าแบบยึดติดอยู่กับที่ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูงกว่า

3. การติดตั้งโซล่าฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System)
เป็นวิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนพื้นผิวน้ำ โดยติดตั้งบนทุ่นที่มีคุณสมบัติที่ลอยน้ำได้ โดยที่จุดเด่นของการติดตั้งแผงโวล่าเซลล์บนผิวน้ำ คือ ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีกว่าบนพื้นดิน เพราะบนผิวน้ำจะระบายความร้อนได้ดีกว่า ทำให้แผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพมากกว่า และไม่จำเป็นต้องสูญเสียพื้นดินสำหรับใช้งาน

EPC Solar

การติดตั้งโซล่าร์เซลล์แบบ EPC หรือชื่อเต็มๆเรียกว่า Engineering Procurement and Construction คือการให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบเบ็ดเสร็จ (Turn-Key) ทั้งด้านการออกแบบทางวิศวกรรม การติดตั้งโครงสร้างระบบโซลาร์เซลล์ การขออนุญาตโครงการ ในรูปแบบของ on grid , Hybrid หรือ Off grid ตามแต่ที่ตกลงกัน หลังจากที่บริษัทได้ทำการติดตั้งจนระบบโซล่าเซลล์สามารถใช้งานได้แล้ว ยังมีการดำเนินการตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์หลังการติดตั้งอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบโซล่าเซลล์ที่ได้ทำการติดตั้งไปนั้น จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตรงตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดย NEO Clean Energy ให้บริการครอบคลุมทั้งกระบวนการ ทำให้สามารถติดต่อครั้งเดียวใช้ได้ตั้งแต่จนจบงาน แบบ One Stop Service

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)
เซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน โดยสามารถแบ่งการเชื่อมต่อออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบท ห่างไกลการไฟฟ้าหลักที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่สำคัญประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ (Changer controller) แบตเตอรี่ (Battery) และชุดอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Inverter) แบบอิสระ แสดงการเชื่อมต่อใช้งาน
2. การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า (PV Grid connected system)การผลิตไฟฟ้าอาจจะผลิตไว้เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าหรือใช้ในกิจการของตนเอง เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เชื่อมต่อสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง เขตอุตสาหกรรมที่มีการใช้โหลดจำนวนมาก หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่ อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Grid inverter) แสดงการเชื่อมต่อใช้งาน
3. การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบส่วนใหญ่จะเป็นอาคาร โรงงานที่มีเครื่องยนต์ดีเซลสำรองฉุกเฉินอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีพื้นที่หลังคาในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และจำนวนโหลดใช้งานในพื้นที่เยอะ ทำให้ไฟฟ้าที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยลดต้นทุน ประหยัดพลังงานการจ่ายค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงได้
ขอขอบคุณข้อมูล : กองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) เมื่อเข้าช่วงหน้าฝน ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิมไหม

ในช่วงที่ฝนตก หลายท่านมักกังวลว่าแสงแดดจะไม่เพียงพอ เพราะฤดูฝนเป็นฤดูที่มีเมฆมากเป็นพิเศษ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังสามารถใช้งานไฟฟ้าได้อยู่ เพราะโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าจะความเข้มของแสง เพียงแต่จะผลิตไฟฟ้าได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงในวันนั้น ๆ

แต่ก็มีข้อควรระวังเมื่อเกิดฟ้าผ่า เพราะอาจะทำให้แผงหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้ ทางที่ดีควรเลือกใช้ Inverter ที่มีระบบป้องกันฟ้าผ่าในตัว หรือติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าภายนอกเพิ่มเติม

ควรลดอันตรายที่อาจจะเกิดจากไฟฟ้าช็อตโดยการติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้องตามมาตรฐาน รวมทั้งควรทำความสะอาดแผงอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อคงประสิทธิภาพการผลิตไฟให้ดีอย่างต่อเนื่อง วางแผนตั้งติด Solar ในรูปแบบ ระบบ On Grid หรือ Hybrid เพื่อเพิ่มแบตเตอรรี่ ให้ใช้ไฟได้แม้ในตอนที่ฝนตก

ในช่วงหน้าฝน เพื่อความปลอดภัยควรตรวจสอบ เตรียมพร้อมไว้ก่อนจะดีที่สุด

"แผงโซลาร์" แบบไหน ปลอดภัย ใช้งานได้ทน

โดย นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ โดยที่ผ่านมามีการสนับสนุนภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนติดตั้ง Solar Rooftop ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแล้วยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถือเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาวของประเทศ ซึ่งมีสถานประกอบการและประชาชนให้ความสนใจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟฟ้ามากขึ้น

แต่เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์มีหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หากนำแผงโซล่าเซลล์ที่ไม่มีมาตรฐาน และไม่ได้ติดตั้งตามมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญ อาจจะเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้แผงโซล่าเซลล์เพื่อความปลอดภัยของประชาชน จึงได้มีการสั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานของสินค้า ให้เร่งชี้แจงทำความเข้าใจและให้ความรู้กับประชาชนในการเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำขึ้นอีก

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุการเกิดไฟไหม้แผงโซล่าเซลล์นั้นมีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักคือ กระแสไฟฟ้าไหลได้ไม่สะดวก เนื่องจากมีการต่อแผงเข้าด้วยกันหลาย ๆ แผง หากแผงใดเกิดมีปัญหา จะทำให้แรงดันไฟฟ้าจากหลายๆ ที่ไหลไปรวมตัวกันที่แผงดังกล่าว จนทำให้เกิดความร้อนสะสม เมื่อความร้อนเกินกว่าศักยภาพที่แผงโซล่าเซลล์นั้นจะรับได้ก็จะเกิดกระแสไฟลุกไหม้ตัวแผงนั้นขึ้นมา จนลุกลามกระจายไปยังแผงอื่น ๆ

ดังนั้นแนวทางที่ปลอดภัยที่สุด คือ ควรเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐานมี มอก. รับรอง เพราะผ่านการทดสอบการทนความร้อน การลุกไหม้ และการลามไฟมาแล้ว โดยมี 2 มาตรฐาน ได้แก่ มอก. 61215 เล่ม 1 (1) – 2561 เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่แสดงประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ และ มอก. 2580 เล่ม 2-2562 เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการทนความร้อน การตัดไฟ การใช้งานในอุณหภูมิสูง การป้องกันไฟรั่ว การลามไฟ และมีระบบป้องกันไม่ให้เกิดความร้อน จนเกิดการลุกไหม้ในจุดที่ถูกบดบังการรับแสง ไม่ว่าจะเกิดจากเงาเมฆ มีใบไม้มาบัง หรือแผงเกิดความสกปรก แผงโซล่าเซลล์นั้นก็จะยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าแผงโซล่าเซลล์ที่มีมาตรฐาน จะมีความปลอดภัยขั้นพื้นฐานและป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ได้

ขอขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ






Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้